บทความ

เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับกระดาษที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง “กระดาษ A4” ที่ไม่ว่าเมื่อไหร่หรือวัยไหนก็ต้องใช้ เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตเลยก็ว่าได้ ซึ่งนอกจากกระดาษ A4 แล้วยังมีกระดาษประเภทอื่นๆที่ใช้ในงานพิมพ์ที่ต่างกันอีกด้วย

     กระดาษที่ใช้ในโรงพิมพ์มีอะไรบ้าง และ งานพิมพ์แบบนี้ควรใช้กระดาษแบบไหน คำถามนี้ที่นี่มีคำตอบ ทางพี เอ็น เคจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกระดาษแต่ละชนิดกันค่ะ

ชนิดของกระดาษที่ใช้ในโรงพิมพ์

  1. กระดาษเคลือบผิว (Coated Paper)

1.1 กระดาษอาร์ตการ์ด

     เป็นกระดาษที่มีคุณสมบัติเหมือนกันกับกระดาษอาร์ต แตกต่างกันที่กระดาษอาร์ตการ์ดจะมีความหนาที่มากกว่า แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

– กระดาษอาร์ตการ์ดหน้าเดียว

     เป็นกระดาษที่มีพื้นผิวมันวาวเพียงด้านเดียว และมีความแกร่งมากกว่ากระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า มีความหนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป เหมาะสำหรับงานที่ต้องการพิมพ์แค่หน้าเดียว เช่น กล่องบรรจุภัณฑ์ ปกหนังสือ โปสการ์ด เป็นต้น

-กระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า

     เป็นกระดาษที่มีพื้นผิวมันวาวทั้ง 2 ด้าน และมีความแกร่งน้อยกว่ากระดาษอาร์ตการ์ดหน้าเดียว มีความหนาตั้งแต่ 190 แกรม, 210 แกรม, 230 แกรม, 260 แกรม 310 แกรม นิยมพิมพ์งานที่ต้องการความสวยงามและคงทนเพียงเล็กน้อย เช่น ถุงกระดาษ การ์ดแต่งงาน โปสเตอร์ เป็นต้น

 

1.2 กระดาษอาร์ต

     เหมาะสำหรับพิมพ์งานที่ต้องการเน้นสีสันสวยสดคมชัด เช่น หน้าปกสมุดโน้ต แคตาล็อก นิตยสาร โบรชัวร์ แผ่นพับ ซึ่งกระดาษชนิดนี้มีราคาค่อนข้างสูง โดยคุณภาพจะแตกต่างกันไปตามมาตรฐานของผู้ผลิต กระดาษอาร์ตแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได่แก่

-กระดาษอาร์ตมัน

     เนื้อกระดาษเรียบ มีความมันเงา เวลาพิมพ์งานออกมาจะใกล้เคียงกับสีจริง มีขนาด 85 แกรม,100 แกรม, 105 แกรม, 120 แกรม , 130 แกรม, 160 แกรม

-กระดาษอาร์ตด้าน

เนื้อกระดาษเรียบ ไม่มีความมันเงา เวลาพิมพ์งานออกมาสีจะดรอปกว่าสีจริงเล็กน้อย งานที่ได้จะมีความด้าน ดูหรูดูแพง มีขนาด 85 แกรม,100 แกรม, 105 แกรม, 120 แกรม , 130 แกรม, 160 แกรม

1.3 กระดาษกล่องแป้ง

     นิยมพิมพ์งานประเภทกล่องบรรจุภัณฑ์ เช่น กล่องสบู่ กล่องยาสีฟัน แผงยาดม กล่องใส่อะไหล่ เป็นต้น โดยกระดาษกล่องแป้งมีราคาถูกกว่ากระดาษอาร์ตการ์ด แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่

-กระดาษกล่องแป้งหลังเทา

     เป็นกระดาษที่ด้านนึงมีสีขาว ส่วนอีกด้านมีสีเทาหรือน้ำตาล ราคาถูก มีความหนาตั้งแต่ 250 แกรม ไปจนถึง 500 แกรม เหมาะกับงานประเภทบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการความแข็งแรงคงทน เช่น กล่องเค้ก กล่องของเล่น กล่องสบู่ เป็นต้น

-กระดาษกล่องแป้งหลังขาว

     เป็นกระดาษที่มีสีขาวทั้ง 2 ด้าน โดยผิวหน้ากระดาษด้านหนึ่งจะเรียบและขาวกว่าอีกด้านเพื่อใช้ในการพิมพ์งานที่มีคุณภาพ สะอาด ดูคลีน เหมาะสำหรับงานประเภทบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการความสวยงาม เรียบหรู เช่น กล่องยาเวชภัณฑ์ กล่องเครื่องสำอางค์ กระดาษชนิดนี้โดดเด่นในเรื่องของความขาวและความแข็งแรงคงทน จึงสามารถใช้แทนกระดาษอาร์ตการ์ดหน้าเดียวเพื่อประหยัดต้นทุนแต่คงไว้ซึ่งความสวยงามได้

  1. กระดาษไม่เคลือบผิว (Uncoated Paper)

2.1 กระดาษปอนด์

     เป็นกระดาษชนิดที่หลายคนคุ้นเคยกันดีอย่าง “กระดาษ A4” กระดาษปอนด์มีเนื้อเรียบ มีสีขาว ความหนาของกระดาษมีตั้งแต่ 50 – 120 แกรม เหมาะแก่การพิมพ์เนื้อในหนังสือ สมุดโน้ต สมุดรายงาน เป็นต้น   

 

2.2 กระดาษปรู๊ฟ

     เนื้อกระดาษมีความบางมาก ฉีกขาดง่าย มีราคาถูก มีสีน้ำตาลหรือขาวหม่น นิยมพิมพ์งานประเภทหนังสือพิมพ์ บิลส่งของต่างๆ

2.3 กระดาษถนอมสายตา

     กระดาษถนอมสายตาหรือ กระดาษ Green Read ที่หลายคนคุ้นเคยอย่างหนังสือนิยาย เนื้อกระดาษด้านในนิยมใช้กระดาษชนิดนี้เนื่องจากมีสีเหลืองนวล อ่านแล้วรู้สึกสบายตา มีความหนา 65-75 แกรมขึ้นไป

2.4 กระดาษคราฟท์ขาว / น้ำตาล

    เกิดจากการใช้เทคโนโลยีในการแปรสภาพจากเนื้อไม้มาเป็นเยื่อกระดาษผ่านกระบวนการคราฟท์ ทำให้ได้เนื้อกระดาษที่มีความแข็งแรงคงทน เนื้อกระดาษคราฟท์มีความเรียบจึงเหมาะแก่การนำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์

2.5 กระดาษการ์ดขาว

     เป็นกระดาษที่มีสีขาวเนื้อด้าน มีความแข็งแรงทนทาน ลัักษณะเหมือนกระดาษปอนด์สามารถเขียนด้วยดินสอ / ปากกาได้ เหมาะแก่การทำการ์ด ปฏิทิน ปกสมุด

2.6 กระดาษจั่วปัง (กระดาษแข็ง)

     เป็นกระดาษที่มีความหนา แข็งแรงทนทาน มีความพิถีพิถันในการผลิต กระดาษชนิดนี้เหมาะแก่การทำกล่องบรรจุภัณฑ์พรีเมี่ยม ปกหนังสือ ปกนิทาน กล่อง Box set จิ๊กซอว์ เป็นต้น

 

  1. กระดาษที่สัมผัสอาหารได้ (Food Grade Paper)

     เป็นกระดาษที่ได้รับการรับรองจากองค์กรอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา หรือ FDA (Food and Drug Administration) โดยกระดาษชนิดนี้ผลิตจากเยื่อกระดาษใหม่ ไม่ผ่านการใช้งานใดๆ ปราศจากสารเคมีอันก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพเนื่องจากต้องสัมผัสอาหาร และหมึกที่ใช้พิมพ์ลงบนกระดาษฟู้ดเกรดจะต้องเป็นหมึกพิเศษที่สามารถสัมผัสอาหารได้ เช่น หมึกถั่วเหลือง (Soy Ink) เป็นต้น

กระดาษฟู้ดเกรด (Food Grade Paper) แบ่งออกเป็นชนิดต่างๆตามลักษณะการใช้งาน เช่น กระดาษ MG กระดาษคราฟท์น้ำตาลเคลือบ PE กระดาษอาร์ตการ์ดเคลือบ PE ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งนิยมนำกระดาษชนิดนี้มาทำกล่องบรรจุภัณฑ์สำหรับใส่อาหาร เช่น กล่องเฟรนช์ฟราย กระดาษห่อแซนวิช กล่อง Snack box กล่องเบเกอรี่ ฯลฯ เป็นต้น