การเข้าเล่ม

5 เทคนิคการเข้าเล่มหนังสือ

สิ่งพิมพ์แบบนี้ ควรใช้เทคนิคการเข้าเล่มแบบไหน?

เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับการเข้าเล่มสิ่งพิมพ์รูปแบบต่างๆในชีวิตประจำวัน อย่างเช่นหนังสือ คูปอง วารสาร โฟโต้บุ๊ค เป็นต้น ซึ่งแท้จริงแล้วการเข้าเล่มมีหลายรูปแบบ จะมีแบบไหนบ้าง และแต่ละแบบเหมาะกับสิ่งพิมพ์แบบใด บทความนี้มีคำตอบค่ะ

การเข้าเล่มหนังสือ เป็นหนึ่งในกระบวนการพิมพ์ซึ่งจัดอยู่ในขั้นตอนหลังการพิมพ์ (Post-press) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการผลิต ที่จะทำให้งานพิมพ์ของคุณสมบูรณ์แบบพร้อมนำไปใช้ โดยแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้

1. การเข้าเล่มหนังสือแบบไสกาว

เป็นการเข้าเล่มโดยการทากาวบริเวณสันหนังสือ หรือที่โรงพิมพ์มักเรียกว่า “ไสกาว” รูปแบบนี้มีความนิยมมากที่สุด เนื่องจากเป็นการเข้าเล่มที่มีความสวยงาม เรียบร้อยและราคาไม่แพง เหมาะสำหรับหนังสือหรือสมุดที่มีความหนา 80 หน้าขึ้นไป อาทิเช่น นิตยสาร หนังสือเรียน หนังสือนิยาย เป็นต้น แต่การเข้าเล่มลักษณะนี้จะกางออกมากไม่ได้เพราะอาจทำให้หนังสือหลุดหรือเสียรูปได้

         

 

 

 

2. การเข้าเล่มหนังสือแบบเย็บมุงหลังคา

การเข้าเล่มรูปแบบนี้นิยมใช้กับสิ่งพิมพ์ที่มีจำนวนหน้าไม่มาก เช่น สมุดนักเรียน แคตาล็อก สมุดบันทึก วารสาร วิธีการคือนำสิ่งพิมพ์เรียงหน้าให้ถูกต้อง พับครึ่ง แล้ววางซ้อนกัน จากนั้นใช้เครื่องเย็บลวดเย็บตรงเส้นพับ ในลักษณะคว่ำหน้าคล้ายหลังคา เราจึงเรียกการเข้าเล่มรูปแบบนี้ว่า “การเย็บมุงหลังคา” นั่นเอง

3. การเข้าเล่มหนังสือแบบเข้าห่วง หรือกระดูกงู

ข้อดีของการเข้าเล่มในลักษณะนี้คือสามารถเปิดกางออกจนสุดได้ นิยมใช้กับสิ่งพิมพ์ประเภทสมุดแพลนเนอร์ เมนูอาหาร สมุดโน้ต ปฏิทิน เป็นต้น วิธีการคือเจาะรูบนตัวงานโดยใช้เครื่องมือสำหรับเข้าห่วงให้เป็นแถวเดียวกัน ระยะห่างเท่ากัน และเข้าห่วงกระดูกงู

4. การเข้าเล่มหนังสือแบบเย็บกี่

เป็นการเข้าเล่มที่มีความแข็งแรง ทนทานมากที่สุด แต่ก็ราคาสูงที่สุดด้วยเช่นกันเนื่องจากมีขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยาก คือการจัดชุดแบ่งเป็นเล่มเล็กๆก่อนและเย็บแยกส่วนกันด้วยด้ายในลักษณะเย็บแบบมุงหลังคา จากนั้นจึงนำมารวมกันเป็นเล่มใหญ่และไสกาวหุ้มปกอีกที เหมาะสำหรับหนังสือที่มีจำนวนหน้ามากๆ เช่น พจนานุกรม สารานุกรม โฟโต้บุ๊ค เป็นต้น

5.  การเข้าเล่มหนังสือแบบกาวหัว

การเข้าเล่มรูปแบบนี้เหมาะสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทสมุดฉีก บิลต่างๆ กระดาษรายงาน เล่มคูปอง กระดาษโน้ต ลักษณะพิเศษคือสามารถฉีกออกมาเป็นแผ่นๆได้ นับว่าเป็นวิธีการเข้าเล่มที่ง่ายมาก เพียงแค่นำกระดาษมาวางซ้อนกัน จากนั้นนำกาวมาทาบริเวณหัวกระดาษ รอให้กาวแห้งก็สามารถนำไปใช้งานได้เลย

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ
การเคลือบงานพิมพ์ (Coating Method) มีแบบไหนบ้างนะ?  หลังเสร็จสิ้นขั้นตอนการพิมพ์ ขั้นตอนต่อไปจะเป็นเทคนิคหลังการพิมพ์ ได้แก่ การเคลือบ หรือ Coating ซึ...
บทความ
RGB และ CMYK คืออะไร และต่างกันอย่างไร?       ปัญหาหลักคือลูกค้าส่งไฟล์งานมาเป็นค่าสี RGB แทนที่จะเป็น CMYK ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าระบบสีทั้งสองระบบนี้...
บทความ
ลูกค้าหลายท่านอาจเคยพบเจอปัญหางานพิมพ์มีสีต่างจากที่เห็นในจอภาพ ทั้งที่กำชับทางโรงพิมพ์ให้ยึดสีตามไฟล์งานหรือแม้กระทั่งมาปรู๊ฟสีหน้าแท่นด้วยตัวเองก็แล...
บทความ
รู้หรือไม่ การเลือกสีให้เหมาะกับบรรจุภัณฑ์ จะช่วยเพิ่มการจดจำให้กับผู้บริโภคได้มากถึง 80% และสามารถดึงดูดความสนใจผู้ซื้อได้ภายใน 7 วินาที ในบทความนี้เ...
บทความ
ปัจจุบันการขายสินค้าบนโลกออนไลน์เป็นสิ่งที่กำลังได้รับความนิยม จึงทำให้มีร้านค้าเกิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก ซึ่งหลายร้านก็ประสบความสำเร็จในการขายสินค้าออ...
บทความ
หลายคนคงเคยได้ยินว่าเวลาเตรียมไฟล์งานให้กับทางโรงพิมพ์ควรเผื่อ “ระยะตัดตก” ไว้ทุกครั้ง แล้วระยะตัดตกคืออะไร สำคัญกับงานพิมพ์อย่างไร ระยะตัดตก (Bleed) ...